ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองกองท้องถิ่นในเขตจังหวัดมหาสารคามและยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเตา
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ : การจัดการศึกษาและสร้างคมแห่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
แนวทางการพัฒนา
- พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษา และการบริการทางการศึกษา
- พัฒนาผู้เรียนผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา
- สนับสนุนงานวิชาการและกิจกรรมทางการศึกษา
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ : การสร้างความเข้มแข็งของสังคมและชุมชนในท้องถิ่น
แนวทางการพัฒนา
- พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพ
- เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของสังคมชุมชน
- สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรม การกีฬา และนันทนาการ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาโครงสร้างการผลิตและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น
แนวทางการพัฒนา
- พัฒนาส่งเสริมการเกษตร การพาณิชย์ และการลงทุน
- พัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งน้ำสาธารณะ โบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยว และจัดการ
สิ่งแวดล้อม
- สนับสนุนส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : การพัฒนาและเสริมสร้างประสิทธิภาพองค์กร
แนวทางการพัฒนา
- เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของท้องถิ่น
- สนับสนุนช่วยเหลือและประสานการทำงานระหว่างองค์กรปกครองกองท้องถิ่น องค์กรและ
หน่วยงานอื่น
ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเตา
คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมกับประชาคมท้องถิ่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบล 6 ด้าน ดังนี้
1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน
2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
3.ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคม
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม
5. ยุทธศาสตร์ การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
2. พันธกิจ
พันธกิจที่ 1 จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐานให้ครอบคลุมที่สอดคล้องตามความ
ต้องการของประชาชน
พันธกิจที่ 2 ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา และกองสาธารณสุข เพื่อสร้างเสริมศักยภาพให้
ประชาชน
พันธกิจที่ 3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีการพัฒนาสังคมแบบประชาชนมี
ส่วนร่วม
พันธกิจที่ 4 ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนของกลุ่มอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนใน
ท้องถิ่นควบคู่กับการพัฒนาการท่องเที่ยว
พันธกิจที่ 5 ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พันธกิจที่ 6 ส่งเสริมและสนับสนุนศาสนา จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีให้ยั่งยืน
พันธกิจที่ 7 ส่งเสริมกระบวนการบริหารจัดการที่ดีในองค์กรและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานท้องถิ่น
2.3 จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
1. ชุมชนมีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งน้ำ และ
สภาพแวดล้อมที่ดี มีมาตรฐานเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
2. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
3. ประชาชนมีความมั่นคงปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน
4. ประชาชน มีอาชีพและรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
5. ประชาชนรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. มีศิลปวัฒนธรรม ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
7. อบต.มีการบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมมาภิบาล
2.4 ค่าเป้าหมาย
(1) มีแหล่งน้ำพอเพียงต่อการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร
(๒)การศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และเกิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง
(3) ประชาชนมีทักษะในการประกอบอาชีพด้านเกษตร
(4) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
(5) ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข มีสุขภาพแข็งแรง
(6) ประชาชนได้ใช้เส้นทางคมนาคมที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย
(7) ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรม การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการของท้องถิ่น
(8) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาธรรมาภิบาลดีขึ้น
(9) ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(10) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติได้รับการฟื้นฟูและอนุรักษ์
2.6 กลยุทธ์ (แนวทางการพัฒนา)
1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน
แนวทางการพัฒนา
1.1 การก่อสร้าง ฟื้นฟู บำรุงรักษาถนนและผิวจราจรสำหรับการคมนาคมขนส่ง
1.2 การขยาย พัฒนา ปรับปรุงเขตไฟฟ้าและไฟฟ้าส่องสว่างอย่างทั่วถึง
1.3 การก่อสร้าง ปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้าน
1.4 การพัฒนา ปรับปรุงและบำรุงรักษาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคและการเกษตร
1.5 ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม สะพาน ช่องลอดเหลี่ยม ท่อระบายน้ำ ร่องระบายน้ำ
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
แนวทางการพัฒนา
- 2.1พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน
- 2.2เพิ่มศักยภาพการผลิตข้าว
- 2.3ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
- 2.4เสริมสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพ
- 2.5ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคม
แนวทางการพัฒนา
3.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดระเบียบชุมชน / สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย
- 3.2ส่งเสริมด้านสาธารณสุข สุขภาพอนามัย การควบคุมและระงับโรคติดต่อ 3.3สนับสนุนด้านสวัสดิการสังคมสงเคราะห์
- 3.4ส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชน
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม
แนวทางการพัฒนา
- 4.1ส่งเสริมการศึกษา
- 4.2ส่งเสริมด้านการศึกษาศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ยุทธศาสตร์ การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร
แนวทางการพัฒนา
5.1 พัฒนาการเมืองการปกครองการบริหารงานสำนักงานและการมีกองร่วมของประชาชน
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา
6.1 สร้างจิตสำนึกและตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.2 ส่งเสริมและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.3 บำบัดฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.4 ส่งเสริมการปลูกป่า
|