องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม : www.muangtao.go.th
หน้าหลัก
ข่าวกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
กระดานถาม-ตอบ
ติดต่อ-สอบถาม
O4 ข่าวประชาสัมพันธ์
การเกษตรที่รอวันตาย
รายละเอียดข่าว
เกษตรที่รอวันตาย ดร.เสรี พงศ์พิศ ประเทศอิตาลีได้หักล้างการกล่าวอ้างที่ว่า เศรษฐกิจชุมชน คือ เศรษฐกิจที่รอวันตาย โดยพิสูจน์ให้เห็นว่า เศรษฐกิจชุมชนแบบอิตาลี ซึ่งผสมผสานระหว่างเกษตรและอุตสาหกรรม แต่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เป็น SME อันลือชื่อ (การประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม) นั้น สามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงยั่งยืนในโลกทุนนิยมที่แข่งขันกันเอาเป็นเอาตาย เสื้อผ้าจาก คลัสเตอร์ SME ของอิตาลีแข่งได้กับเสื้อผ้าจากโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ในประเทศกำลังพัฒนาอย่างจีน ไทย อินโดนิเซีย เวียดนาม และอื่นๆ เพราะอิตาลีบริหารจัดการเป็น ใช้จุดแข่งของตนเองสู้กับแรงงานถูกๆ ของประเทศกำลังพัฒนาได้ จุดแข็งของอิตาลีอยู่ที่จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในการดำเนินการ ไม่ว่าการแปรรูปอาหาร ผลิตภัณฑ์การเกษตร ทำให้เกษตรกรรมไม่ได้รอวันตาย แต่อยู่ได้มั่นคงยั่งยืน อุตสาหกรรมใหญ่ในประเทศอิตาลีมีxxxส่วนรายได้ของประเทศเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น อีกร้อยละ 90 มาจากการประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ที่ว่านี่เอง ซึ่งเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วประเทศ โดยเฉพาะตั้งแต่เมืองฟลอเรนซ์ไปถึงมิลาน และไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ชนบทของอิตาลีเต็มไปด้วย SME เป็นรากฐานของเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ใช่อุตสาหกรรมใหญ่ๆ ที่โด่งดังอย่างเฟียต อาหาร เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องแต่งตัว เป็นสินค้าโด่งดังของอิตาลี คิดถึงแค่พาสต้า (มัคกาโรนี สปาแก็ตตีและอื่นๆ ) พิซซ่า ไส้กรอก เนย ไวน์ ไม่ต้องไปถึงเสื้อผ้าแฟชั่นอันโด่งดังทั้งหลาย ซึ่งล้วนมาจากครัวเรือนและ SME ประเทศไทยมีหลายอย่างคล้ายกับอิตาลี ที่อ่อนด้อยกว่าเขาคือเรื่องการศึกษา หากมีการพัฒนาส่วนนี้ให้ดี การเกษตรของไทยคงไม่ตายง่ายๆ แต่จะกลายเป็นรากฐานสำคัญของสังคมไทยในอนาคต เกษตรที่รอวันตาย ? เขียนโดย ดร . เสรี พงศ์พิศ Saturday, 01 August 2009 สยามรัฐรายวัน 30 กรกฎาคม 2552 นักวิชาการฝรั่งคนหนึ่งที่สอนในมหาวิทยาลัยชื่อดังที่กรุงเทพฯ ให้สัมภาษณ์ว่า ภาคเกษตรของไทยกำลังรอวันตาย ไม่นานชาวนาไทยรุ่นนี้ก็จะหมดไป ชาวนาไทยไม่ได้พัฒนาตนเองเลย จะค่อยๆ เลิกทำนาไปในที่สุดเพราะทำไปก็ไม่คุ้ม สู้ไปรับจ้างและทำอาชีพอื่นไม่ได้ คนที่ไปสัมภาษณ์มาถามผมว่า คิดอย่างไรกับความเห็นดังกล่าว ได้ตอบไปว่า ถ้าจะบอกว่าจำนวนคนทำนาจะลดลงอันนั้นเป็นไปได้ สุดท้ายอีก 20 ปีข้างหน้าอาจจะเหลือน้อยกว่าร้อยละ 20 แต่ที่บอกว่าชาวนาไทยจะหมดไป อันนั้นอาจจะเกินไป คนไทยเรียนรู้และปรับตัวได้ดี จวนตัวเข้าจริงๆ ก็เอาตัวรอดได้ และไม่เชื่อว่าชาวนาไทยจะทิ้งนาไปเฉยๆ หรือขายนาไปจนหมด เพราะถ้าจะขายคงขายไปตั้งแต่ 20 ปีที่แล้วตอนที่มีการปั่นราคาที่ดินกันทั่วประเทศ และวันนี้ที่ชาวนาหลายประเทศขายที่ดินให้ต่างชาติทำนาและทำการเกษตร ผลิตอาหารกันเป็นล้านๆ ไร่ ไม่ว่าที่แอฟริกาหรือเอเชีย เรื่องอย่างนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่ใช่ว่าจะไม่มี มีอยู่แล้ว แต่ไม่มีทางที่จะเป็นแสนไร่เป็นล้านไร่ ที่เขียนเช่นนี้ไม่ใช่แบบ หวังว่า (wishful thinking) เพราะในความเป็นจริง คนไทยก็ไม่ได้อยู่เฉยๆ แต่เริ่มตื่นตัว เรียนรู้ และพัฒนาตนเอง แม้ว่าจะมีจำนวนน้อยถ้าเทียบกับประชากรที่ทำการเกษตร แต่คนกลุ่มเล็กก็ขยายกลายเป็นคนกลุ่มใหญ่ได้ คุณภาพก็เปลี่ยนไปเป็นปริมาณได้ เหมือนกับเรื่องเกษตรผสมผสานเมื่อ 20 กว่าปีก่อน เป็นเรื่องประหลาด มาถึงวันนี้ใครๆ ก็เริ่มทำ หรือเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ วันนี้ก็เป็นเรื่องปกติ และเริ่มแพร่หลายไปทั่ว วันนี้มีคนที่เข้าใจปัญหาของการเกษตรและเริ่มปรับตัว ใครที่ทำนาแบบเดิมๆ ทำได้ไร่ละ 300-400 กิโลก็ค่อยๆ หมดไป เพราะไม่คุ้ม คนที่ทำต่อหรือขยายการผลิตคือคนที่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้ได้ 800-1,000 กิโลต่อไร่ ทำอย่างไรจึงลดต้นทุน ไม่ใช่วิ่งหาแต่ปุ๋ยเคมี เพราะปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพก็มีและหาง่ายทำง่าย ราคาก็ถูกกว่า ประสิทธิภาพในระยะยาวก็ดีกว่า เกษตรกรรายย่อยที่อาจเป็นจุดอ่อนของหลายประเทศ กลายเป็นจุดแข็งของสังคมไทยได้ เพราะโลกวันนี้ต้องการการผลิตที่ประณีต ซึ่งทำได้ต่อเมื่อทำขนาดเล็ก ไม่ใช่ทำแปลงใหญ่ๆ (plantation) และจะอยู่รอดได้ถ้าหากเริ่มค้นคิดการทำแบบ คลัสเตอร์ คือ ทำเป็นกลุ่ม เป็นเครือข่ายที่พึ่งพาอาศัยกัน อย่างหนึ่ง คือการทำกิจกรรมหลายๆ อย่างในไร่นาของตนเอง อีกอย่างหนึ่ง คือการจัดการเป็นเครือข่ายที่แบ่งกันผลิต แล้วนำผลผลิตมาร่วมกันจัดการ ไม่ว่าจะแปรรูปหรือจัดการเรื่องตลาด รวมทั้งการจัดการเช่าซื้อเครื่องมือการเกษตรร่วมกัน ไม่ใช่แข่งขันซื้อรถไถแบบเดินตาม หมดสมัยก็ซื้อรถไถแบบนั่งขับมาแข่งกัน แล้วปล่อยทิ้งขึ้นสนิมหลายเดือน การเกษตรที่คนไทยกำลังปรับตัวกันวันนี้เป็นการเกษตรแบบ ประณีต ไม่ใช่แค่ไร่เดียว แต่หลายไร่ก็ประณีตได้ หมายความว่าทำด้วยข้อมูล ความรู้ และมีหลักมีเกณฑ์ มีแบบมีแผน มีเป้าหมาย และไม่ทำแบบโดดเดี่ยว ตัวใครตัวมัน แต่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นสหกรณ์ เป็นวิสาหกิจชุมชน ประเทศอิตาลีได้หักล้างการกล่าวอ้างที่ว่า เศรษฐกิจชุมชน คือ เศรษฐกิจที่รอวันตาย โดยพิสูจน์ให้เห็นว่า เศรษฐกิจชุมชนแบบอิตาลี ซึ่งผสมผสานระหว่างเกษตรและอุตสาหกรรม แต่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เป็น SME อันลือชื่อ (การประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม) นั้น สามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงยั่งยืนในโลกทุนนิยมที่แข่งขันกันเอาเป็นเอาตาย เสื้อผ้าจาก คลัสเตอร์ SME ของอิตาลีแข่งได้กับเสื้อผ้าจากโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ในประเทศกำลังพัฒนาอย่างจีน ไทย อินโดนิเซีย เวียดนาม และอื่นๆ เพราะอิตาลีบริหารจัดการเป็น ใช้จุดแข่งของตนเองสู้กับแรงงานถูกๆ ของประเทศกำลังพัฒนาได้ จุดแข็งของอิตาลีอยู่ที่จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในการดำเนินการ ไม่ว่าการแปรรูปอาหาร ผลิตภัณฑ์การเกษตร ทำให้เกษตรกรรมไม่ได้รอวันตาย แต่อยู่ได้มั่นคงยั่งยืน อุตสาหกรรมใหญ่ในประเทศอิตาลีมีxxxส่วนรายได้ของประเทศเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น อีกร้อยละ 90 มาจากการประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ที่ว่านี่เอง ซึ่งเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วประเทศ โดยเฉพาะตั้งแต่เมืองฟลอเรนซ์ไปถึงมิลาน และไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ชนบทของอิตาลีเต็มไปด้วย SME เป็นรากฐานของเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ใช่อุตสาหกรรมใหญ่ๆ ที่โด่งดังอย่างเฟียต อาหาร เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องแต่งตัว เป็นสินค้าโด่งดังของอิตาลี คิดถึงแค่พาสต้า (มัคกาโรนี สปาแก็ตตีและอื่นๆ ) พิซซ่า ไส้กรอก เนย ไวน์ ไม่ต้องไปถึงเสื้อผ้าแฟชั่นอันโด่งดังทั้งหลาย ซึ่งล้วนมาจากครัวเรือนและ SME ประเทศไทยมีหลายอย่างคล้ายกับอิตาลี ที่อ่อนด้อยกว่าเขาคือเรื่องการศึกษา หากมีการพัฒนาส่วนนี้ให้ดี การเกษตรของไทยคงไม่ตายง่ายๆ แต่จะกลายเป็นรากฐานสำคัญของสังคมไทยในอนาคต ที่มา:ดร.เสรี พงศ์พิศ มูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน(สสวช.)
เอกสารประกอบ
การเกษตรที่รอวันตาย
วันที่ลงข่าว
: 22 ต.ค. 2553
ผู้ลงข่าว
: อบต.เมืองเตา